1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอน (ทิศนา แขมมณี.2554: 42-50)

1.1 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง ( Mental  Discipline)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถให้พัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า   นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้ คือ เซนต์ออกุสติน(St.Augustine)  จอห์น คาลวิน(John Calvin)  และคริสเตียนโวล์ฟ(Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
                ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว
                2.มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
                3.สมองของมนุษย์นั่นแบ่งออกเป็นส่วนๆ
                4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็น
                5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด
                ข.หลักการจัดการศึกษาการสอน
                1.การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด
                2.การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด
                3.การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก
                4.การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและยึดถือในพระเจ้า
1.1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์  นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต(Plato)และอริสโตเติล(Aristotle)
                ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1.พัฒนาการในเร่องต่างๆ
                2.มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว
                3.มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
                4.มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
                ข.หลักการจัดการศึกษาการสอน
                1.การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                2.การพัฒนาให้ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ
                3.การใชวิธีสอนแบบโสเครตีส
                4.การใชวิธีสอนแบบบรรยาย
                1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ(Rousseau) ฟรอเบล(Froebel)และเพสตาลอสซี(Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี
                2.ธรรมชาติของมนุษย์มีการกระตือรือร้น
                3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ
                4.รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ
                5.เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกัน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์  คนสังคม และคนธรรม
                6.เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
                7.ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5 ขวบ
                8.ฟรอเบล เชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
                ข.หลักการจัดการศึกษาการสอน
                1.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
                2.การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
                3.การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ
                4.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด ( Apperception หรือ Herbartianism )
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John  Locke)   วิลเฮล์ม วุนด์(Wilhelm  Wundt)   ทิชเชเนอร์(Titchener) และแฮร์บาร์ต(Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้
. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง
                2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรรือสมองที่ว่างเปล่า
                3.วุนด์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 และการรู้สึก
                4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1  ส่วน
                5.แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี  3 ระดับ
                6.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิม
                ข.หลักการจัดการศึกษาการสอน
                1.การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็น
                2.การช่ยให้ผ้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
                3.การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว
                เอกสารอ้างอิง    ทิศนา  แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.