2.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอน ทิศนา แขมมณี (หน้า 50-78)

2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism)
                                2.1.1ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดด์ 
นักทฤษฎีคนสำคัญคือธอร์นไดด์ 
. ทฤษฎีการเรียนรู้
                1.กฏแห่งความพร้อม
                2.กฏแห่งการฝึกหัด
                3.กฏแห่งการใช้
                4.กฏแห่งผลที่พึงพอใจ
                ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                1.การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูก
                2.การสำรวจความพร้อมของผู้เรียน
                3.หากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นก่อน
                4.เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ
                5.การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
2.1.2ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
. ทฤษฎีการเรียนรู้
                1.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไข
                2.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้า
                3.การนำเรื่องที่เคยสอนไปแล้วมาสอนใหม่สามารถช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการได้
                4.การจัดกิจกรรมการเรียนให้ต่อเนื่องและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
                5.การเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอน
                6.หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบ
                ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                1.ในการสร้างพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในผู้เรียนควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลัง
                2.การลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา สามารถทำได้โดยการหาสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาช่วย
ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์
ฮัลล์ ได้ทำการทดลอง โดยฝึกหนูให้กดคาน โดยแบ่งหนูออกเป็นกลุ่มๆ  แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24 ชั่วโมง และแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้งจึงได้อาหารไปจนถึงกลุ่มที่กด  90 ครั้งจะได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน แต่อดอาหารเพียง 3 ชั่วโมง ผลปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมาก คือมีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย กล่าวคือจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส กับอวัยวะแสดงออกเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมาก จึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น
                ทฤษฏีการเรียนรู้
1.  กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง
2. กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย
3. กฎแห่งการใกล้ที่จะบรรลุเป้าหมาย
                หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. ในการจัดการเรียนการสอนควรคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ดีที่สุด
2. ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากันในการเรียนการสอน ควนให้ทางเลือกที่หลากหลาย
3. การให้การเสริมแรง จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม
กลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด โดยเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น แต่กระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
ทฤษฏีกลุ่มนี้ที่สำคัญ
1. ทฤษฏีเกสตัลท์
2. ทฤษฏีสนาม
3. ทฤษฏีเครื่องหมาย
4. ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา
5. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ทฤษฏีเกสตัลท์
เกสตัลท์ เป็นคำศัพท์ในภาษาเยอรมันมีความหมายว่า แบบแผนหรือรูปร่าง ซึ่งในความหมายของทฤษฏี หมายถึงส่วนรวม
ทฤษฏีการเรียนรู้
1.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด
2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้สองลักษณะ คือ การรับรู้ การหยั่งเห็น
4. กฎการจัดระเบียบการรับรู้ ทฤษฏีเกสตัลท์ มีดังนี้
4.1 กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย
4.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง
4.3 กฎแห่งความใกล้เคียง
4.4 กฎแห่งความสมบูรณ์
4.5 กฎแห่งความต่อเนื่อง
4.6 บุคลจะมักมีความคงที่กับความหมายของสิ่งที่รับรู้ ตามความเป็นจริงกล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาครวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นในลักษณะภาพรวมดังกล่าว
                5. การรับรู้แบบหยั่งเห็น
                หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การส่งเสริมกระบวนการคิด
2. การสอนภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
4. การจัดประสบการณ์ใหม่
5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีคือการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกัน
6. ครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลานำเสนอเนื้อหาทั้งหมด ครูสามารถเสนอเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
7. การเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนควรจัดให้มีความต่อเนื่องกัน
8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
ทฤษฎีสนาม
เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) เป็นผู้เริ่มทฤษฎีนี้ คำว่า Field มาจากแนวคิดเรื่อง Field of forece
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับ
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ให้ไปอยู่ในโลกของผู้เรียน โดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและจิตวิทยา ให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียน
3. การสร้างแรงจูงใจ และ/หรือแรงขับ
ทฤษฎีเครื่องหมาย
ทอลแมน กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. ในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนจะมีการคาดหวังรางวัล หากรางวัลไม่ตรงตามความพอใจผู้เรียนจะแสวงหารางวัลต่อไป
2. ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะ ไปถึงจุดหมาย ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ และสิ่งอื่นๆ
3. ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำๆ
4. การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นบางครั้งจะไม่แสดงออกทันที จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม
หลักการจัดการศึกษาการสอน
1. การสร้างแรงขับ หรือแรงจูงใจ
2. การเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่น ควบคู่ไปด้วย
3. การปรับเปลี่ยนสถานการณ์ในการเรียนรู้
4. การเรียนรู้บางอย่างอาจไม่สามารถแสดงออกได้ทันที ควรใช้วิธีการทดสอบหลายๆ วิธี ทดสอบบ่อยๆ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
เพียเจต์ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอน กระบวนการอย่างไร เขาอธิบายว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตาพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น  พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่เร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้นดังนี้
- การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ช่วงอายุ 0-2 ปี
- ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ช่วงอายุ 2-7 ปี
                + ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด อายุ 2-4 ปี
                + ขั้นการคิดด้วยความเข้าใจตนเอง อายุ 4-7 ปี
-          ขั้นการคิดแบบรูปธรรม อายุ 7-11 ปี
-          ขั้นการคิดแบบนามธรรม อายุ 11-15 ปี
2.  ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3.  กระบวนการทางสติปัญญามีดังนี้
- การซึมซับการดูดซึม
- การปรับและการจัดระบบ
- การเกิดความสมดุล


หลักการจัดการศึกษา
1.  ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก และจัดประสบการณ์เหมาะสมกับพัฒนาการ
- การสภาพแวดล้อมที่เอื้อไห้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัยของตน
- ไม่เปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
- ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม
2.การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิด
3. ในการสอนเด็กเล็กๆ นั้นเด็กจะรับรู้ส่วนรวม ได้ดีกว่าส่วนย่อย
4. ในการสอนสิ่งใดหับเด็กควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือ มีประสบการณ์มาก่อนแล้วจึงเสนอสิ่งใหม่ที่สัมพันธ์กับสิ่งเก่า
5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์ เชื่อว่ามนุษยะรับรู้สิ่งที่ตนเอสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. จัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน
3. การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผล
4. แรงจูงใจภายใน
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้ 3 ขั้น
                - ขั้นการเรียนรู้จาการกระทำ
                - ขั้นการเรียนรู้จากความคิด
                - ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด ได้อย่างเหมาะสม
7. การเรียนรู้ได้ผลดีที่สุด คือ ผู้เรียนค้นพบการเรียนรูด้วยตนเอง
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนให้เหมาะสม
3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว
4. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ
5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ
8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
                ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการและแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น
2. มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเองประสบการณ์ที่ว่า peak experience เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำ จากการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้
2. การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานเขาเสียก่อน
3. ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้ผูเรียนเกิดการเรียนรู้ได้
4. การช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่างพอเพียง การให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส
ทฤษฎีการเรียนรู้
 มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้และผู้เรียนเป็นสำคัญ
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น
2. ครูควรชี้แนะ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้
3. การเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์
แนวคิดกับการเรียนรู้
ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนมาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
การคำนึงถึงถึงความรู้สึกของผู้เรียน การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ผูเรียนเกิดการเรียนรู้
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน
3. มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ตนต้องการ
4. มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
5. มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีที่ตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ตามที่ตนพอใจ
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
2. ในกระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียน นำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมต่างๆ ของตน เข้ามาใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่
3. ควรเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง
4. ในกระบวนการเรียนการสอน ครูควรเข้าใจและส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียน ตัดสินใจด้วยตนเอง ลงมือกระทำ และยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำนั้น
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของการถูกกดขี่ เขากล่าวว่า ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง


หลักการจัดการศึกษา/การสอน
ควรเป็นระบบที่ให้อิสรภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                อิวาน  อิลลิช  ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                การจัดการศึกษาไม่จำเป็นต้องจัดทำในลักษณะของระบบโรงเรียน ควรจัดในลักษณะที่เป็นการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                นีล กล่าวว่ามนุษยเป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ
หลักการจัดการศึกษา/dkilvo
                การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน เรียนเมื่อพร้อมที่จะเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน
                กานเย เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้รวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทที่ซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
                ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. กานเย ได้จัดประเภทของการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้
                1.1 การเรียนรู้สัญญาณ
                1.2การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง
                1.3 การเรียนรู้เชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
                1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา
                1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง
                1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
                1.7 การเรียนรู้กฎ
                1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา
2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ
                2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
                2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา
                2.3  ยุทธศาสตร์ในการคิด
                2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว
                2.5 เจตคติ
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. กานเย ได้เสนอรูปแบบการสอนอย่างเป็นระบบโดยพยายาม เชื่อมโยงการจัดสภาพการเรียนการสอนอันเป็นสภาวะภายนอกตัวผู้เรียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ภายใน
2. ในระบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้นั้น กานเย่ได้เสนอระบบการสอน 9 ขั้น ดังนี้
                ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดจุดประสงค์
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้
ขั้นที่ 6    ให้ลงมือปฏิบัติ
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนความรู้
สรุป
             แม้ว่าในแต่ละช่วงแต่ละสมัยจะมีทฤษฎี และแนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริงแนวคิดเก่าๆ ก็มิได้สูญสิ้นไปโดนสิ้นเชิง ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีต่างก็มีจุดเด่นและจุดอ่อนในตัวเอง ดังนั้นจึงเกิดมีนักจิตวิทยาและนักการศึกษาที่เริ่มการผสมผสานแนวคิดหลายแนวเข้าด้วยกัน ดังตัวอย่างการผสมผสานระหว่างแนวคิดทางด้านพฤติกรรมนิยม และปัญญานิยมของกานเย เป็นต้น ดังนั้นข้อมูลในบทนี้จึงช่วยให้ผู้ศึกษาได้มองเห็นวิวัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้ทางซีกโลกตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละ ช่วงจะมีการพัฒนาในลักษณะเติมเต็มในสิ่งที่ยังบกพร่องหรือส่วนที่ยังขาดอยู่ จนกระทั่งทำให้ได้ข้อความรู้ที่สมบูรณ์ขึ้น ทฤษฎีการเรียนรู้นับเป็นรากฐานที่มาของกลักการในการสอน โดยการสอนได้นำข้อความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้บางทฤษฎีกล่าวเฉพาะทฤษฎีการเรียนรู้ โดยไม่ได้กล่าวถึงการสอน แต่ทฤษฎีการเรียนรู้บางทฤษฎีได้ประยุกต์ความรู้สู่การสอนให้ด้วย ดังนั้นทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวถึงการสอน หรือกล่าวถึงแต่ไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงได้ทำหน้าที่ประยุกต์ข้อความรู้ไปสู่การสอนให้ด้วย
                เอกสารอ้างอิง    ทิศนา  แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.